10 เมษายน 2559

พระที่นั่งเวหาศจำรูญ (WEHART CHAMRUN RESIDENTIAL HALL)


พระที่นั่งเวหาศจำรูญ

     พระที่นั่งเวหาศจำรูญเป็นพระที่นั่งสองชั้น สร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2432 จากคำบอกเล่า กล่าวว่า ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 10 ปี นับเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายในพระราชวังบางปะอินที่สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์นี้สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน มีชื่อในภาษาจีนว่า “เทียน เหมง เต้ย” (เทียน-เวหาศ, เหมง-จำรูญ, เต้ย-พระที่นั่ง) แปลว่า พระที่นั่งฟ้าสว่าง
พระที่นั่งองค์นี้สร้างจากเงินที่เก็บภาษีอากรจากพ่อค้าชาวจีนที่เป็นขุนนางรับราชการในสำนักเรียกว่า “กรมท่าซ้าย” ซึ่งดูแลในเรื่องการค้าขายโดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์)
พระที่นั่งเวหาศจำรูญเป็นพระที่นั่งที่แสดงถึงความเป็นพระปิยมหาราชของประชาชนผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร และเป็นพระที่นั่งที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนไทยเชื้อสายจีนที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5


- ท้องพระโรงล่างเป็นห้องที่เปิดให้นักท่องเที่ยวชมบริเวณท้องพระโรงล่าง หันไปทางทิศใต้ ด้านหน้ามีอัฒจันทร์หรือบันไดขึ้นไปยังท้องพระโรงบน มีพระราชอาสน์ประดับมุกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อยู่ตรงกลางด้านบนอัฒจันทร์ ถัดลงมาที่กลางอัฒจันทร์มีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ของลัทธิเต๋าของจีน มีลวดลายสีทอง รูปหยินหยาง เป็นลายปลาทองสองตัวกลับหัวกัน ถัดลงมาเป็นพื้นกระเบื้องเคลือบที่เขียนด้วยมือทีละแผ่นโดยชั่งชาวจีนมีด้วยกีน 5 ลาย เครื่องประดับตกแต่งช่วงบนด้านทิศใต้ของท้องพระโรงมีรูปปั้นที่ทำจากขี้ธูปผสมกาว ลงรักปิดทอง เป็นรูปโป๊ยเซียน ใต้ภาพเป็นแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดีจำนวน 9 บท จำนวน 17 แผ่นป้ายซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกมาในปีพุทธศักราช 2462 ส่วนลวดลายที่ประดับอยู่ที่ชื่อของพระที่นั่งเป็นงานแกะสลักวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก และลายมงคลแปด
- ท้องพระโรงบน เป็นที่ประชุมเสนาบดี มีพระราชบัลลังก์มังกรลงรักปิดทอง ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้านข้างพระราชบัลลังก์ตั้งป้ายแปดเหลี่ยมไว้ทั้งสองด้าน สามารถหมุนอ่านได้สองหน้า เขียนเป็นภาษาจีนว่า เทียน เหมง เต้ย กลับหน้าอีกด้านก็จะเขียนคำว่า ว่าน ว่าน ซุย ซึ่งแปลว่าทรงพระเจริญหมื่นๆปี ที่เพดานของท้องพระโรงบนจะมีแผ่นป้ายไทยที่เขียนเลียนแบบอักษรจีนเขียนคำว่า กิม หลวน เต้ย แปลว่าโอรสจากสวรรค์





WEHART CHAMRUN RESIDENTIAL HALL

    Another two-storey building, the construction of Phra Thinang Wehart Chamrun was completed in 1889. Said to have taken ten years to complete, this the last building to be constructed during the reign of H.M. King Chulalongkorn. Build in Chinese architecture, the residence bears the Chinese characters of “Tien Meng Teui”, (tien is the equivalent of wehart; meng stands for chamrun and teui for residence), meaning the clear sky residence in the vernacular.
     Phra Thinang Wehart Chamrun Pavilion indeed stands testimonial to the sovereign as the great king of the people living in Siam. It was also an expression of allegiance of the Chinese community to H.M. King Chulalongkorn. The residence is the finest built in the most complete Chinese architecture in Thailand.
     There are several chambers inside Phra Thinang Wehart Chamrun, each has its own educational import for further study.



- The throne halls on the ground floor are opened to the public. Facing  the south, one comes face to face with platform or staircase leading to the upper throne hall upon which stands H.M. King Chulalongkorn's throne decorated with pearls right in the middle of the raised platform. Next to the platform is a marble panel with the symbol of Chinese Taoism and the yin-yang motifs in gold in the shape of two fish with their heads turning in opposite directions. The tile floor is made of hand-painted tiles by chinese craftsmen. With five specific designs. Such hand-painted tiles have become a rarity. The decorative items on the upper end towards the south of the throne hall are statues of the eight lacquered and gilded Chinese Saints made of ashes from joss sticks and glue. Under the statues are 17 panels of nine verses dedicated to accomplished civil servants, which H.M. King Vajiravudh, Rama VI's royal command, were copied in 1919. Woodcrafts featuring scenes from the Three Empires and the eight auspicious motifs form the embellishment adorning the name of the residence.


  - The upper throne hall was where ministerial meetings took place. Again, there is a lacquered and gilded dragon throne in this hall. It also served as H.M.  King Chulalongkorn's residence. There are two octagonal boards flanking each side of the throne. They were made in such a way that they could be turned around so that the Chinese characters on both sides could be read. On one side is the phrase Tien Meng Teui and the other is Wan Wan Sui . meaning ten thousands of year. The ceiling of the throne hall carries a panel of Thai alphabets mimicking Chinese calligraphy, which read King Luan Teui meaning Son fo Heaven.